Scholar’s Advanced Technological System 377 เล่นเกมยาว?

Now you are reading Scholar’s Advanced Technological System Chapter 377 เล่นเกมยาว? at นิยาย นิยายออนไลน์ นิยายวาย นิยาย pdf OreNovel.Com.

คณิตศาสตร์ประจำปีเป็นหนึ่งในวารสารชั้นนำอันดับสี่ของโลกคณิตศาสตร์ สถาบันวิจัยคณิตศาสตร์ทุกแห่งจะสมัครสมาชิกวารสารนี้ไว้

ออฟฟิศของเถาเจ๋อเซวียนก็เช่นกัน

วารสารคณิตศาสตร์ประจำปีฉบับล่าสุดถูกส่งมาที่ออฟฟิศ เขาเปิดหน้าสารบัญแล้วหาวิทยานิพนธ์ที่เขาอาจสนใจ เขาใช้ปากกาทำเครื่องหมายไว้บนวิทยานิพนธ์เอาไว้อ่านทีหลัง

ทันใดนั้นนิ้วเขาก็สั่นเทา ปลายปากกาของเขาแช่ค้างไว้ที่หัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่องหนึ่ง

[การมีอยู่ของผลเฉลยที่ราบรื่นของสมการนาเวียร์-สโตกส์ในสามมิติที่บีบอัดไม่ได้ด้วยค่าเริ่มต้นจำเพาะ]

“สมการนาเวียร์-สโตกส์?”

เถาเจ๋อเซวียนอ่านหัวข้อวิทยานิพนธ์ เขาดูสนใจ

เขาไม่ได้เห็นวิทยานิพนธ์คณิตศาสตร์เกี่ยวกับสมการนาเวียร์-สโตกส์มานานแล้ว

ท้ายที่สุดแล้วแม้ว่าสมการนาเวียร์-สโตกส์จะมีการประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย แต่สำหรับคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ มันเป็นเรื่องยากมากที่จะมีผลการวิจัยที่คู่ควรกับการตีพิมพ์ในวารสาร

เถาเจ๋อเซวียนรู้สึกสนใจ เขาวางปากกาลงแล้วเปิดไปหน้าวิทยานิพนธ์

เมื่อเขาเห็นชื่อผู้เขียน เขาก็อึ้ง

ลู่โจว?

ตอนแรกเขาวางแผนจะอ่านวิทยานิพนธ์ตอนว่างๆ แต่พอเขาเห็นชื่อนี้ เขาก็อดใจรอต่อไปไม่ไหว

เขาหยิบกระดาษปากกามาจากโต๊ะ จากนั้นเขาก็เริ่มอ่านวิทยานิพนธ์อย่างละเอียด

เวลาล่วงเลยไปอย่างรวดเร็ว

โดยไม่รู้ตัว เวลาก็ล่วงเลยมาจนถึงเที่ยงแล้ว

ศาสตราจารย์เถาใช้เวลาอ่านวิทยานิพนธ์ทั้งเช้า

เมื่อเขาวางวารสารลง เขาก็อดอุทานไม่ได้

“ศาสตราจารย์ลู่สุดยอดมากจริงๆ…”

แม้ว่าเขาจะอ่านวิทยานิพนธ์เพียงคร่าวๆ แต่เขาก็ยังพอเข้าใจความซับซ้อนของวิทยานิพนธ์

สิ่งที่ทำให้เขาประทับใจที่สุดก็คือลู่โจวใช้ทฤษฎีบทที่เขาไม่เคยเห็นมาก่อน

แน่นอนถ้าเขาอยากเข้าใจวิทยานิพนธ์เชิงลึก เขาต้องใช้เวลาอ่านให้มากกว่านี้

ศาสตราจารย์เถาไม่อยากไปบรรยายภาคบ่ายแล้ว เขาโทรบอกผู้ช่วยให้ไปบรรยายแทน กลับกันเขาเปิดโน้ตบุ๊คขึ้นมา

เช่นเดียวกับเว่ยป๋อของลู่โจว ผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ก็ชอบแชร์การวิจัยของตัวเองเช่นกัน

เขามีบล็อกเป็นของตัวเอง

เขาเขียนบล็อกเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เป็นกระแส ตรวจสอบวิทยานิพนธ์ และพูดถึงบุคคลทางวิชาการท่านอื่นๆ

เขาแชร์ความคิดเห็นของตัวเองด้วยเช่นกัน!

[…ฉันคิดว่ามันเป็นการค้นพบที่น่าสนใจมาก ไม่ใช่แค่บทสรุปของวิทยานิพนธ์ที่น่าทึ่ง แต่ทฤษฎีบทที่สร้างสรรค์ที่เขาใช้ยังเป็นสิ่งใหม่เช่นกัน

ฉันรู้ว่าเขามีพรสวรรค์ในด้านการใช้เครื่องมือคณิตศาสตร์ที่หลากหลาย ฉันไม่เคยเห็นใครทำวิจัยสาขาที่หลากหลายเท่าเขา ไม่ใช่แค่นั้น เขามีความสามารถในการทำความเข้าใจและประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์ดีที่สุดที่ฉันเคยเห็นมา

ปกติแล้ว ถ้านักวิชาการเข้าใจและประยุกต์ใช้ได้ทุกสาขาคณิตศาสตร์ก็ถือว่าเก่งแล้ว

อย่างไรก็ตามลู่โจวยอดเยี่ยมกว่านั้น

เขามีความสามารถในการสร้างวิธีคิดใหม่ทั้งหมด ค้นหาวิธีประยุกต์ใช้วิธีเก่ากับปัญหาใหม่ และสร้างทฤษฎีบทใหม่ขึ้นมา

ในมุมมองของฉัน ถ้าเขาพัฒนาทฤษฎีบทให้สมบูรณ์ เขาอาจแก้ปัญหาแห่งศตวรรษนี้ได้

แน่นอน ฉันต้องยอมรับว่ามันไม่ได้ง่ายๆ!]

ไม่มีใครรู้เรื่องอนุพันธ์ย่อยดีไปกว่าเถาเจ๋อเซวียน

ในปี 2014 นักคณิตศาสตร์ชาวคาซัค โอเทลบาเยบ อ้างว่าได้พิสูจน์การมีอยู่ของผลเฉลยที่ราบรื่นของสมการนาเวียร์-สโตกส์ เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการถกเถียงกันในหมู่นักคณิตศาสตร์นานาชาติ

โอเทลบาเยบเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงกว่าศาสตราจารย์อีนอค ดังนั้นการกล่าวอ้างที่ดูอุกอาจของเขาจึงไม่ถูกเพิกเฉย

อย่างไรก็ตามการตรวจสอบวิทยานิพนธ์ของเขาไม่ได้ง่ายๆ

เพเรลมาน ผู้แก้ข้อคาดการณ์ปวงกาเรมีนิสัยประหลาด แต่โชคดีที่วิทยานิพนธ์ของเขาเขียนเป็นภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตามโอเทลบาเยบไม่เก่งอังกฤษ เขาจึงเขียนวิทยานิพนธ์เก้าสิบหน้าเป็นภาษารัสเซียทั้งหมด

เถาเจ๋อเซวียนพูดได้แต่ภาษากวางตุ้งกับอังกฤษ เขาไม่เข้าใจภาษารัสเซีย อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ก็ไม่ได้ทำให้เขาหยุด

จากวิทยานิพนธ์ของโอเทลบาเยบ เถาเจ๋อเซวียนใช้แนวคิดและสร้างโครงสร้างที่คล้ายกับสมการนาเวียร์-สโตกส์ ดังนั้นถ้าวิทยานิพนธ์ของเถาเจ๋อเซวียนพิสูจน์ได้ว่าถูก งั้นแนวคิดของโอเทลบาเยบก็ต้องถูกต้องเช่นกันอย่างไม่มีอะไรกังขา

ต่อมาก็มีเรื่องที่สุดยอดเกิดขึ้น

ด้วยการกำหนดค่าเริ่มต้นพิเศษ โอเทลบาเยบพิสูจน์ว่าผลเฉลยที่ราบรื่นสอดคล้องกับค่าเริ่มต้นจะสูญเสียความสม่ำเสมอในเวลาที่จำกัด นี่ก็เหมือนกับการพิสูจน์การขัดแย้งด้วยการค้นหาตัวอย่างโต้แย้ง

มันหมายความว่าแนวคิดผิดในตัว

ตัวอย่างโต้แย้งของเขาได้รับการยอมรับโดยนักวิชาการอนุพันธ์ย่อยมากมายหลายท่าน

จากนั้นไม่นาน นักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซียของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ศาสตราจารย์เกรกอรี่ เซเลกิน ก็ตรวจสอบวิทยานิพนธ์ของโอเทลบาเยบเสร็จ เขาชี้ให้เห็นถึงข้อผิดพลาดในวิทยานิพนธ์ถึงหกจุดและยุติการถกเถียงกัน

แน่นอน โอเทลบาเยบก็ยอมรับความผิดพลาดของตนเองเช่นกัน

โดยรวมแล้ว ศาสตราจารย์เถามีความรอบรู้ในด้านสมการนาเวียร์-สโตกส์เป็นอย่างดี

เขาไม่ค่อยได้โพสต์เนื้อหาทางวิชาการบนบล็อก และข้อมูลทุกอย่างที่เขาโพสต์ เขาเป็นคนตรวจสอบด้วยตัวเอง

อันที่จริง ไม่ใช่แค่เถาเจ๋อเซวียนที่ให้คะแนนวิทยานิพนธ์นี้สูง ผู้ยิ่งใหญ่หลายท่านในสาขาสมการนาเวียร์-สโตกส์ก็ออกความเห็นที่คล้ายกัน

ยกตัวอย่างศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมน หัวหน้าสาขาคณิตศาสตร์พรินซ์ตัน เขามีความเห็นเหมือนกับเถาเจ๋อเซวียน เขาเชื่อว่าวิธีที่ลู่โจวใช้สำคัญมากกว่าข้อสรุปของวิทยานิพนธ์

มันไม่สำคัญว่าจะมี’ผลเฉลยที่ราบรื่นของสมการนาเวียร์-สโตกส์ในสามมิติที่บีบอัดไม่ได้ด้วยค่าเริ่มต้นจำเพาะ’หรือไม่ สิ่งสำคัญคือแรงบันดาลใจที่วิธีทางคณิตศาสตร์ของลู่โจวสร้างขึ้น

ก่อนหน้านี้ลู่โจวจดจ่ออยู่กับสาขาอย่างวัสดุศาสตร์และเคมี นักวิชาการหลายท่านคิดว่ามันเป็นความผิดพลาดที่ลู่โจวใช้ช่วงอายุที่ดีที่สุดไปจดจ่อกับสาขาอื่น

หลังแก้ข้อคาดการณ์ของก็อลท์บัค ลู่โจวก็เงียบหายไปเป็นปี เขาไม่ได้ตีพิมพ์วิทยานิพนธ์คณิตศาสตร์อีกเลย บางคนก็คิดว่าอัจฉริยะคนนี้คงเบื่อคณิตศาสตร์ไปแล้ว

อย่างไรก็ตามดูเหมือนมันจะไม่ได้เป็นอย่างนั้น

อัจฉริยะไม่ได้ล้มเลิกการวิจัยคณิตศาสตร์

กลับกัน…

เหมือนเขากำลังเล่นเกมยาวแทน?

…………………………………

Comments

การแสดงความเห็นถูกปิด