Full-time Artist ใครว่าผมไม่เหมาะเป็นศิลปิน 802 ฉู่ขวงเขียนเรื่องไหนกันแน่

Now you are reading Full-time Artist ใครว่าผมไม่เหมาะเป็นศิลปิน Chapter 802 ฉู่ขวงเขียนเรื่องไหนกันแน่ at นิยาย นิยายออนไลน์ นิยายวาย นิยาย pdf OreNovel.Com.

ตอนที่ 802 ฉู่ขวงเขียนเรื่องไหนกันแน่

ก่อนหน้านี้หลายคนคาดเดาด้วยจิตใจอันหาญกล้าว่าผลงานสามเรื่องก่อนหน้าที่ของบล็อกนั้นมาจากปลายปากกาของเซี่ยนอวี๋

อย่างไรก็ตาม

เมื่อผลงานอีกสี่ชิ้นซึ่งไม่ได้เป็นสองรองจากผลงานของสามเรื่องแรก จึงไม่มีใครกล้าคาดเดาเช่นนี้อีก ชาวเน็ตต่างรู้สึกว่าความเข้าใจที่พวกเขามีต่อเรื่องสั้นนั้นถูกทำลายลงเสียแล้ว

ผลงานระดับสุดยอดทั้งเจ็ดเรื่อง!

จะเป็นเรื่องที่ฉู่ขวงเขียนทั้งหมดก็คงไม่ได้ล่ะมั้ง!

บล็อกจะต้องแอบเชิญกองหนุนจากภายนอกมาอย่างแน่นอน!

นอกจากนั้นยังไม่ได้เชิญมาแค่คนเดียว!

ใช่แล้ว

ชาวเน็ตทยอยอ่านนิยายอีกสี่เรื่องจบแล้ว!

หลังจากอ่านผลงานซึ่งบล็อกโพสต์ติดต่อกันทั้งสี่เรื่อง ผู้อ่านทุกคนต่างตกตะลึงเป็นอย่างมาก!

……

เรื่องสั้นเรื่องแรกจุดกระแสความบ้าคลั่งก็คือ ‘มหาเศรษฐี[1]’ เพราะนี่เป็นเรื่องแรกที่ปล่อยออกมาในบรรดาเรื่องสั้นทั้งสี่เรื่อง

ในแง่ของลำดับ ผลงานเรื่องนี้แทบจะปล่อยมาตรงกับคนตีระฆังเลย!

อย่าลืมว่าผลงานซึ่งมีชื่อว่า ‘คนตีระฆัง’ นี้ ถูกชาวเน็ตนับไม่ถ้วนเชื่อว่าเป็นผลงานของเฟยหงซึ่งเป็นหนึ่งในสามอาชาไนยแห่งฉินโจว!

อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้อ่านกลุ่มแรกอ่าน ‘มหาเศรษฐี’ จบ พื้นที่แสดงความคิดเห็นก็ระเบิดขึ้นมาทันตาเห็น~

‘แม่เจ้า!’

‘ตะลึงมาก!’

‘ทำไมถึงมีผลงานระดับนี้โผล่ออกมาอีกแล้วล่ะ!’

‘ผมคิดว่าปู้ลั่วเอาชนะรอบนี้ได้เพราะเฟยหง แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่าใครแพ้ใครชนะจะบอกไมได้ง่ายๆ แล้ว!’

‘ใช่เรื่องตลกเพื่อเสียดสี เหนือชั้นสุดๆ !’

‘การบูชาเงินทองในสังคมทุนนิยมถูกถ่ายทอดออกมาอย่างชัดเจนในเรื่องนี้!’

‘นี่เป็นผลงานของยอดฝีมือคนไหนอีกเนี่ย!’

เรื่องสั้นเรื่องนี้บอกเล่าเรื่องราวของคนรวยสองคนซึ่งอยากรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับคนจนหลังจากที่เขาได้รับธนบัตรมูลค่ามหาศาลไป ปรากฏว่าสิ่งที่เหนือความคาดหมายของคนรวยทั้งสองคือ ผู้คนพยายามอย่างเต็มที่ที่จะพิชิตใจคนจนซึ่งรวยขึ้นมาอย่างกะทันหัน ไม่ว่าจะกินฟรี ซื้อเสื้อผ้าฟรี ตลอดจนที่พักฟรี ใครๆ ก็เข้าไปพะเน้าพะนอเขาประหนึ่งขอทาน พร้อมทั้งยกระดับสถานะทางสังคมของเขาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ชายหนุ่มผู้โชคดียังแต่งงานกับภรรยาที่ดี มีดอกเบี้ยในธนาคารที่สูงลิบ และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขนับตั้งแต่นั้นมา!

ทั้งตลก ทั้งเสียดสี ผลงาน ชิ้นนี้ได้รับเสียงชื่นชมอย่างล้นหลาม!

……

ผลงานเรื่องที่สองซึ่งระเบิดความบ้าคลั่งของผู้อ่านคือ ‘ชายในคดี[2]’!

ตัวเอกเป็นคนแปลกพิลึก เขาสวมรองเท้าบูตกันฝนและกางร่มในวันที่ท้องฟ้าสดใส บนเตียงมีมุ้ง เขามักจะเก็บทุกอย่างไว้ภายใต้สิ่งปกคลุม และกังวลราวกับเป็นคนประสาทเสียว่าตนเองจะเกิดเรื่องอะไรขึ้น มีคนพยายามหาคู่ให้เขา แต่ทันทีที่นึกถึงการแต่งงาน เขาก็อดไม่ได้ที่จะครุ่นคิดถึงภาระและความรับผิดชอบที่ตามมา จนภายหลังการแต่งงานล้มเหลว เขาจึงเริ่มกลัวว่าผู้คนจะหัวเราะเยาะเขา จนสุดท้ายจึงเป็นโรคซึมเศร้าและจากโลกนี้ไป

‘สุดยอด!’

‘เรื่องนี้ให้แง่คิดดีมาก!’

‘ฉันเห็นเงาของตัวเองจากตัวเอก มุมมองในการใช้ชีวิตของเขามีแต่ด้านลบมากเกินไป เขามักจะนึกถึงเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดเสมอ สุดท้ายเขาจึงพลาดโอกาสไปนับไม่ถ้วน ผู้เขียนทำให้ฉันตระหนักถึงข้อบกพร่องของตัวเองด้วยวิธีที่เกินจริงที่สุด!’

‘ออกแบบบตัวละครได้เกินจริงและสมเหตุสมผลในเวลาเดียวกัน!’

‘สรุปว่าบล็อกจ้างยอดฝีมือมากี่คน!’

‘เทียบกับเรื่องก่อนหน้านี้ ระดับของเรื่องนี้ไม่ได้ลดลงเลย!’

‘ถึงว่าสิ บล็อกถึงมีท่าทีแข็งกร้าวขนาดนั้น พวกเขาต้องเชิญปีศาจที่ฝีมือไม่ได้ด้อยไปกว่าฉู่ขวงมาออกโรงหลายคนแน่เลย!’

……

หลังจากอ่านเรื่องที่สองจบ ชาวเน็ตคลิกเรื่อง ‘ตำรวจกับบทเพลงสรรเสริญ’ อย่างอดใจรอไม่ไหว!

นี่คือเรื่องที่ทำให้ผู้คนระเบิดหัวเราะ เพราะตัวเอกทนใช้ชีวิตอยู่ข้างนอกไม่ไหว อยากเข้า คุกกินข้าวฟรี มีที่อยู่ฟรี แต่ไม่ว่าเขาจะทำความผิดอย่างไร ตำรวจก็ปฏิเสธที่จะจับเขาไป แต่ขณะที่เขากำลังซาบซึ้งกับบทเพลงสรรเสริญและเตรียมตัวจะเริ่มต้นใช้ชีวิตอีกครั้ง กลับถูกตำรวจจับด้วยข้อหาที่ชวนให้ผู้คนกลั้นขำไม่อยู่

‘โอ๊ยยย!’

‘ขำปอดโยก!’

‘เรื่องนี้ต ลกกว่ามหาเศรษฐีอีก แถมยังเต็มไปด้วยการเสียดสีเหมือนกันด้วย!’

‘จะต้องเป็นฝีมือระดับปรมาจารย์อย่างแน่นอน!’

‘ตั้งแต่ต้นจนจบมีแต่การเสียดสี ฉันคิดถึงตอนจบอยู่ตลอด ว่าทำไมตำรวจถึงไม่จับคนที่ก่อเรื่องไปมา บางทีที่อาจสะท้อนถึงการไร้ความสามารถและน่าขันของตำรวจในสังคมตอนนั้นก็ได้!’

‘เรื่องนี้น่าสนใจมาก!’

‘คนเขียนเรื่องนี้ก็เป็นยอดฝีมือ และเป็นยอดฝีมือด้านการเขียนเรื่องสั้นด้วย!’

‘นี่เป็นใครอีกล่ะ!’

……

ครั้งนี้บล็อกเผยแพร่ผลงานสี่เรื่องติดต่อกัน และคุณภาพของสามเรื่องที่ผ่านมาก็ทำให้ผู้อ่านพึงพอใจอย่างยิ่ง!

เรื่องที่สี่ก็ไม่ทำให้ผู้อ่านผิดหวังเช่นเดียวกัน!

เรื่องสั้นเรื่องนี้มีชื่อว่า ‘อาจูลส์ของผม[3]’

อันที่จริงแนวคิดหลักของเรื่องคือธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อครอบครัวของตัวเอกได้ยินว่าอาของเขาทำเงินได้มากมาย พวกเขาจึงยกย่องอาจูลส์ และชื่นชมราวกับว่าอาจูลส์เป็นดอกไม้ที่เบ่งบาน แต่เมื่อบังเอิญเจอกับอาจูลส์ และพบว่าเขากำลังยากจนข้นแค้น ท่าทีจึงเปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ และเริ่มดูถูกอาจูลส์ต่างๆ นานา…

‘เป็นเรื่องที่ทำให้รู้สึกสะท้อนใจ!’

‘ยามตกยาก แม้ในโลกที่วุ่นวายก็ไม่มีใครมาเหลียวแล ยามมั่งมี แม้อยู่ในหุบเขาลึก ก็ยังมีญาติห่างไกลตามไปเยี่ยม!’

‘อ่านเรื่องนี้แล้วอยากกินหอยนางรม!’

‘โลกนี้ช่างน่าขัน ความเป็นจริงช่างอัศจรรย์ คุณอาจคิดว่านี่เป็นการเสียดสี แต่แท้จริงแล้วมันคือความจริง!’

‘ตอนมีเงินเป็นอา ตอนไม่มีเงินเป็นคนแปลกหน้า พ่อแม่พวกนี้ไม่คิดว่าค่านิยมของตัวเองจะมีผลประทบกับลูกขนาดไหน อย่างน้อยก็ให้เด็กกินหอยนางรมสักคำก็ได้!’

‘สำหรับฉันเรื่องนี้ไม่ได้ด้อยไปกว่าบอลไขแพะ!’

‘ในเจ็ดเรื่องนี้ ต่อให้สุ่มหยิบขึ้นมาสักเรื่องหนึ่งก็ไม่มีเรื่องที่ด้อยกว่าผลงานของเฝิงหวากับเฟยหงเลย!’

‘บ้าไปแล้ว ทำไมบล็อกถึงมีผลงานดีๆ เยอะขนาดนี้ พวกเขาดึงเอายอดฝีมือในวงการเรื่องสั้นที่ยังไม่ได้ร่วมงานกับปู้ลั่วไปร่วมทัพแล้วหรือ?’

……

เรื่องสั้นระดับสุดยอดเจ็ดเรื่อง!

เรื่องราวซึ่งชวนให้ผู้คนต้องตกตะลึง

ผลงานทั้งเจ็ดซึ่งบล็อกเปิดตัวไปนี้ทำให้วงการเรื่องสั้นเกิดการกลับตาลปัตรและโกลาหลไปหมด!

ทางปู้ลั่ว

บรรดานักเขียนเรื่องสั้นระดับมืออาชีพต่างไม่รู้แล้วว่าจะสรรหาคำใดมาบรรยายความตกตะลึงในใจ!

“โผล่มาจากไหนกันฟระเนี่ย!”

“ผลงานระดับสูงเจ็ดเรื่อง บล็อกไปเชิญปีศาจแบบนี้มาจากไหนกัน!”

“ฉันทำไม่ได้เลยสักเรื่อง!”

“ไหนบอกว่าบล็อกมีแค่ฉู่ขวงคนเดียวที่ลงมือได้ไง ตอนนี้ผมบอกไม่ได้เลยว่าฉู่ขวงเขียนเรื่องไหน ทุกเรื่องเป็นผลงานระดับคลาสสิกอย่างแท้จริง!”

“เรื่องสั้นคลาสสิกก็เป็นแค่ของกล้วยๆ !”

“ยอมแล้ว ยอมจริงๆ อย่าสู้อีกเลย!”

“สมองผมแทบระเบิด นักเขียนของผลงานเหล่านี้เป็นปีศาจมาจากไหนกันนะ ตอนนี้บล็อกประกาศรายชื่อคนเขียนหรือยัง อย่างน้อยก็บอกให้ฉันรู้หน่อยเถอะว่าฉันตายยังไง!”

“ต้องเป็นคนที่อันดับสูงๆ แน่นอน!”

“มาคิดดูแล้ว ก็มีแค่ไม่กี่คนที่อยู่ระดับนี้!”

นักเขียนเรื่องสั้นจากทางปู้ลั่วต่างสับสน ครั้งนี้เห็นได้ชัดว่าปู้ลั่วถูกบล็อกปั่นหัวเสียแล้ว!

ดูเหมือนว่าไลน์อัปของปู้ลั่วจะตระการตา นักเขียนชั้นนำและมีชื่อเสียง ที่จริงแล้วบล็อกก็ไม่ได้นิ่งเฉย พวกเขาเตรียมไลน์อัปที่น่ากลัวไว้แล้ว ถึงขั้นที่อาจเป็นไลน์อัปที่ดีที่สุดในวงการเรื่องสั้นด้วยซ้ำ!

……

เมื่อเผชิญกับผลงานกันน่าทึ่งทั้งเจ็ด เฝิงหวาและเฟยหงก็มีความคิดเห็นที่ตรงกันว่า

บล็อกจะต้องไปแอบเชิญพวกฝีมือระดับปีศาจมาลงมืออย่างแน่นอน!

ทั้งสองจึงติดต่อและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในทันที

เฝิงหวา ‘พี่เฟย คุณคิดยังไง’

เฟยหง ‘น่าจะเป็นคู่แข่งเก่าจากทวีปอื่น’

เฝิงหวาถอนหายใจ ‘ทำไมพวกเขาถึงไม่คุยกับพวกเราก่อน’

เฟยหงไม่ค่อยพอใจนัก ‘ถึงจะเป็นคู่แข่ง แต่ก็นับว่าเป็นเพื่อนเก่าเพื่อนแก่กันมาหลายปี ถ้าพูดตั้งแต่แรก พวกเราก็แค่ไปปล่อยผลงานในบล็อก แล้วก็แข่งกับพวกเขาไม่ดีหรือไง ทำไมต้องไปยุ่งกับปัญหาระหว่างปู้ลั่วกลับบล็อก แล้วทำให้บรรยากาศมันตึงเครียดขนาดนี้’

‘ที่น่าโมโหที่สุดคือก่อนหน้านี้พวกเขาบอกผมว่าช่วงนี้ไม่มีแรงบันดาลใจ แบบนี้เรียกว่าไม่มีแรงบันดาลใจเรอะ’

‘พวกเขาก็บอกผมแบบนั้น’

‘ไปตามพวกเขากัน!’

‘อืม ไปแท็กหาในกลุ่มใหญ่ทีละคนเลย จะเสแสร้งต่อไปก็ไม่มีประโยชน์แล้ว’

ทั้งสองจะคือบุคคลซึ่งยืนอยู่บนยอดพีระมิดของวงการเรื่องสั้น

และในกลุ่มนี้ คนที่ยืนอยู่บนยอดพีระมิดของวงการเรื่องสั้นนั้นแท้จริงแล้วมีอยู่เพียงหยิบมือ พวกเขาล้วนเป็นเพื่อนเก่าซึ่งรู้จักมักคุ้นกันมานานหลายปี และมีสนทนาส่วนตัวอยู่บ้างถึงขั้นที่เมื่อไรที่มีผลงานใหม่เตรียมเผยแพร่ ก็มักจะบอกกล่าวกันเสมอ

ด้วยความรู้สึกค้างคาต้องสะสาง

เฝิงหวากดเปิดกลุ่มแช็ตที่ใหญ่ที่สุดของนักเขียนเรื่องสั้นในวงการ และเมนชันหา ทีละคน

‘เหล่าหลี่ เหล่าหวง เหล่าโจว เหล่าเหอ…พวกคุณออกมาแล้วบอกผลงานของพวกคุณเดี๋ยวนี้ อย่าคิดว่าช่องชื่อผู้เขียนเว้นว่างไว้แล้วผมจะไม่รู้หรือว่าเป็นงานเขียนของพวกคุณ!’

เฟยหงปรากฏตัวตามมา

‘ในบล็อกลงเรื่องสั้นระดับสูงเจ็ดเรื่อง นอกจากผลงานของฉู่ขวงแล้ว ผลงานเรื่องอื่นๆ จะต้องเป็นผลงานใหม่ของคนในกลุ่มนี้แน่ๆ อย่าตีเนียน (อิโมจิโมโห)’

ในกลุ่มนี้ยังมีนักเขียนชื่อดังอีกบางส่วนซึ่งเผยแพร่ผลงานบนปู้ลั่วเช่นเดียวกับสองคนนั้น

เมื่อเห็นพี่ชายใหญ่สองคนเปิดประเด็น แต่ละคนต่างก็ปรากฏตัวออกมา

‘ออกมาได้แล้ว’

‘ไม่ต้องเงียบแล้ว’

‘ฉันรู้ว่าพวกคุณกำลังอ่านข้อความอยู่’

‘ตอนนี้พวกขาใหญ่กำลังแอบสนุกอยู่ล่ะสิ’

‘พวกขาใหญ่ พวกคุณรังแกพวกเราแรงมาก’

‘ร้องไห้แทบตาย!’

ขณะที่เกิดความเคลื่อนไหว นักเขียนเรื่องสั้นซึ่งมีความสามารถในการเขียนเรื่องสั้นที่ยอดเยี่ยมล้วนถูกเมนชันถึง

หลังจากคนเหล่านี้โผล่ออกมา ก็รีบปฏิเสธในทันที

‘ไม่ใช่ผม!’

‘จะพูดจาซี้ซั้วไม่ได้นะ!’

‘ก่อนหน้านี้ผมก็บอกพวกคุณสองคนไปแล้ว ว่าไม่มีแรงบันดาลใจ!’

‘พวกเราเพิ่งคุยกันว่าเรื่องสั้นเจ็ดเรื่องของบล็อก เป็นของยอดฝีมือท่านไหนกันกันแน่’

‘เรื่องสั้นเจ็ดเรื่องนี้น่าทึ่งจริงๆ สองเรื่องในนั้นทำให้ฉันรู้สึกละอายใจมาก!’

‘บ้าจริง พวกเพี้ยนโผล่มาจากไหนเยอะแยะขนาดนี้ ตอนนี้แฟนคลับหลายคนถามว่าผมแอบไปช่วยบล็อกหรือเปล่า แถมยังบอกว่าเรื่องบอลไขแพะเป็นของผม ถ้าผมเขียนได้คงหัวเราะจนตื่นจากฝันเลยละ!’

‘ที่ผมอยากรู้ก็คือ ฉู่ขวงเขียนเรื่องไหนกันแน่’

‘…’

นักเขียนทางปู้ลั่วล้วนตกตะลึง

“ไม่ใช่พวกคุณ?”

เรื่องสั้นคลาสสิกทั้งเจ็ดเรื่องโผล่มากลางอากาศหรือย่างไร?

เฝิงหวาและเฟยหงสับสนเช่นกัน

ในฐานะนักเขียนเรื่องสั้นชั้นนำ ทั้งสองรู้จักนิสัยของคนเหล่านี้ค่อนข้างดี

เมื่อเรื่องมาถึงขั้นนี้ ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะปฏิเสธ แต่กลับถูกสงสัยว่าดูแคลนพวกเขาทั้งสองอีก

แต่ถ้าไม่ใช่พวกเขา แล้วจะเป็นใครอีก?

หรือว่าในวงการจะมีดาวรุ่งกลุ่มใหม่โผล่มาอีก?

อย่ามาล้อเล่น!

ชั้นเชิงที่ปรากฏผ่านเรื่องสั้นทั้งเจ็ดเรื่อง จะมาจากปลายปากกาของเด็กใหม่ได้อย่างไร

สามนาทีผ่านไป

เฟยหงพูดคุยกับเฝิงหวาเป็นการส่วนตัว “ผมโทรหาทีละคนเพื่อยืนยันแล้ว ไม่ใช่พวกเขาจริงๆ ”

เฝิงหวาสะดุ้งโหยง ตอบกลับไปตามสัญชาตญาณ “ถ้าไม่ใช่พวกเขา หรือว่าผลงานทั้งเจ็ดเรื่อง ฉู่ขวงจะเป็นคนเขียนทั้งหมด”

เอ๊ะ?

เอ๊ะๆๆ ?

หลังจากตอบกลับ จู่ๆ เปลือกตาของเฝิงหวาก็กระตุกตุบๆ

ขณะเดียวกัน

เฟยหงซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้าม ดูเหมือนจะกระจ่างขึ้นมาเช่นกัน รอยย่นรอบริมฝีปากของเขาสั่นเล็กน้อย

เฟยหง ‘คงไม่ใช่…’

เฝิงหวา ‘…ล่ะมั้ง?’

เฟยหง ‘…’

เฝิงหวา ‘…’

ในช่องแช็ต ทั้งสองต่างคนต่างส่งจุดไข่ปลาหากัน

[1] มหาเศรษฐี หรือ ธนบัตรล้านปอนด์ (The Million Pound Bank Note) โดยมาร์ค ทเวน นักเขียนชาวอเมริกัน เผยแพร่ในปีค.ศ.1893

[2] ชายในคดี (The Man in the Case) โดยอันตอน เชคอฟ นักเขียนชาวรัสเซีย เผยแพร่ในปีค.ศ.1898

[3] อาจูลส์ของผม (Mon Oncle Jules) หรือ My Uncle Jules โดยกีย์ เดอ โมปัสซองต์ เผยแพร่ในปีค.ศ.1883 เรื่องราวเกี่ยวกับโจเซฟซึ่งนึกถึงเหตุการณ์ในอดีตและเล่าย้อนถึงเรื่องราวของอาจูลส์น้องชายของพ่อ ซึ่งย้ายจากเมืองเลออาฟวร์ไปตั้งถิ่นฐานในนิวยอร์ก ขณะที่ครอบครัวของโจเซฟในเวลานั้นค่อนข้างขัดสน

Comments

การแสดงความเห็นถูกปิด