Scholar’s Advanced Technological System 265 ข่าวใหญ่!

Now you are reading Scholar’s Advanced Technological System Chapter 265 ข่าวใหญ่! at นิยาย นิยายออนไลน์ นิยายวาย นิยาย pdf OreNovel.Com.

วิชาเคมีเป็นหลุมลึก แม้ว่ามันจะไม่ลึกเท่าชีววิทยาและวัสดุศาสตร์ มันยังมีนักเรียนจำนวนมากลงวิชาเอกเคมี

หนึ่งในเหตุผลก็คือมันเป็นอันตราย โดยเฉพาะเคมีอินทรีย์ ซึ่งมักจะเล่นกับน้ำยาเคมี แม้ว่าเราจะปฏิบัติตามคู่มือความปลอดภัย แต่ก็ไม่มีใครรับประกันได้ว่ามันจะไม่เกิดอะไรขึ้น ตอนเกิดอุบัติเหตุ อาจไม่มีใครทันรู้ตัวด้วยซ้ำ

อีกเหตุผลก็คือเงินเดือน แม้ว่าการจัดอันดับเงินเดือนของนักศึกษาจบใหม่มักจะใส่เคมีประยุกต์อยู่อันดับต้นๆ แต่สถานการณ์จริงนั้นแตกต่างกัน

อย่างไรก็ตามลู่โจวรู้ว่าหานเมิ่งฉีไม่ได้กังวลเรื่องเงินเดือน

แม้ว่าเธอจะหาเงินไม่ได้ เธอก็พึ่งพาความร่ำรวยของแม่ได้…

เฉินยู่ซานนั่งอยู่ที่นั่งข้างคนขับคอยบอกทางลู่โจว ทั้งสี่เที่ยวอยู่ในฟิลาเดลเฟียทั้งวัน

อาจเป็นเพราะบรรยากาศที่สนุกสนานในฟิลาเดลเฟีย หานเมิ่งฉีจึงรู้สึกดีขึ้นมาก

แต่ถึงกระนั้น คนที่มีความสุขที่สุดก็คือเสี่ยวถง เธอเหมือนมีพลังงานไม่รู้หมด เธอพูดไม่เคยหยุดเลย

เนื่องจากความมีชีวิตชีวาของเสี่ยวถง เธอจึงเข้ากับเฉินยู่ซานและหานเมิ่งฉีได้อย่างง่ายดาย พวกเขาแลกวีแชทกับ QQ กันในร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด

หลังจากเสี่ยวถงได้ยินว่าเมิ่งฉีก็เล่น ROV เหมือนกัน เธอจึงหยุดกินแฮมเบอร์เกอร์และเปิดเกมบนโทรศัพท์

หานเมิ่งฉีดูโทรศัพท์ของเสี่ยวถงแล้วกล่าว “เธอก็เล่น ROV เหมือนกันเหรอ?”

เสี่ยวถงกล่าวอย่างภาคภูมิใจ “ใช่แล้ว ฉันเก่งมาก”

หานเมิ่งฉีจึงถามด้วยความสนใจ “เธออยู่แรงค์ไหน?”

“ไดม่อน!” เสี่ยวถงกล่าว เธอกล่าวเสริมด้วยความมั่นใจ “แต่ตอนนี้ฉันยังอยู่แรงค์บรอนซ์ แต่ฉันรู้ว่าฉันเก่งถึงระดับไดม่อนแล้ว มันแค่เป็นเรื่องของเวลา”

หานเมิ่งฉี “…”

เฉินยู่ซานกัดหลอดดูดและยิ้มให้กับบทสนทนาของทั้งสอง ในขณะที่ลู่โจวกลอกตามองบน

ลู่โจวคิด ‘ไม่ต้องสงสัยเลย ‘ความดื้อรั้น’ของเสี่ยวถงเป็นแรงค์ไดม่อนแน่นอน’

ส่วนอย่างอื่นน่ะเหรอ เธอค่อนข้างจะด้อยกว่า…

หลังเสี่ยวถงมา ชีวิตของลู่โจวก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก ความแตกต่างเดียวก็คือเขามีคนต้องดูแลมากขึ้นหนึ่งคน และเขาก็เริ่มไปนอนบนโซฟาแทนบนเตียง

แผนเดิมของเขาหลังกลับมาพรินซ์ตันก็คือย้ายออกจากหอพักนักศึกษา แต่เขายังไม่เจอที่ใหม่ดีๆเลย

เขามีอยู่สองตัวเลือก หนึ่งคือหอพักอาจารย์ของสถาบันการศึกษาขั้นสูงพรินซ์ตัน อีกหนึ่งก็คือคฤหาสน์สองชั้นที่มีลานหน้าบ้านและโรงจอดรถที่ตั้งอยู่ระหว่างสถาบันขั้นสูงพรินซ์ตันกับวิทยาเขตหลัก

แม้จะพูดว่ามันเป็นคฤหาสน์ แต่ก็แค่พูดให้มันดูดีเท่านั้น คฤหาสน์เล็กๆ แบบนี้พบเจอได้ทั่วไปในอเมริกา ลู่โจวเคยเห็นในรายการทีวีของอเมริกา ราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณสองแสนถึงสามแสนเหรียญ ส่วนค่าเช่าก็ไม่แพงเลย

ลู่โจวอยากเลือกอย่างหลังมากกว่า เพราะมันมีที่จอดรถที่สะดวกกว่า แต่เจ้าของชาวนิวยอร์กดื้อรั้นมาก เขาจะขาย ไม่ปล่อยเช่า ตอนนี้ลู่โจวมีเพียงห้าแสนเหรียญเท่านั้น และแม้ว่าเขาจะมีเงิน เขาก็ไม่อยากซื้อบ้านที่อยู่แค่ไม่กี่ปี

ท้ายที่สุดแล้วหลังจากไม่กี่ปีนี้ เขาก็จะกลับจีนแล้ว

แม้ว่าลู่โจวจะอยากพิจารณาบ้านหลังอื่น แต่มันก็มีทั้งไม่ดีและถูกเช่าไปแล้ว ดังนั้นเขาจึงต้องทิ้งเรื่องย้ายหอไว้ก่อน

โชคดีที่เสี่ยวถงไม่เรื่องมากเรื่องที่อยู่ เธอจะขอให้ลู่โจวขับรถไปส่งที่ฟิลาเดลเฟียแล้วออกไปเที่ยวกับเฉินยู่ซาน นอกจากนั้นเธอก็ไม่ได้รบกวนลู่โจวมากนัก

ชีวิตที่สบายๆของลู่โจวดำเนินต่อไปจนถึงปลายเดือนสิงหา ตอนที่มีข่าววารสารเนเจอร์เคมิสทรีฉบับใหม่

ปลายเดือนสิงหา กีฬาโอลิมปิกปี 2016 พึ่งจบลง ข่าวโอลิมปิกยังเป็นกระแสอยู่เลยในตอนที่ข่าวที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชิ้นนี้ปรากฏอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์อย่างเงียบๆ

สาเหตุเป็นเพราะมันเป็นวิทยานิพนธ์ที่ตีพิมพ์ในเนเจอร์

หัวข้อนั้นเรียบง่ายมาก แต่มันดึงดูดความสนใจของคนทั้งโลก

มันไม่ใช่เพราะลู่โจว

ถ้ามีคนอ้างว่าตนเองคิดวัสดุ PDMS แบบใหม่ที่แก้ปัญหาลิเธียมเดนไดรต์ได้ คนส่วนใหญ่ก็คงไม่สนใจอะไร

แต่นี่เป็นวิทยานิพนธ์บนวารสารเนเจอร์!

ทันใดนั้นโลกวัสดุศาสตร์ที่เงียบสงบก็ถูกโจมตีโดยคลื่นพายุ

แม้ว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่โลกวัสดุศาสตร์จะช็อกไปกับ’ความก้าวหน้า’ของแบตเตอรี่ลิเธียม แต่คราวนี้มันแตกต่างกัน เหตุผลก็คือ ผู้ตรวจสอบเป็นศาสตราจารย์บาเวนดิ และจากที่บาเวนดิบอก เขาได้ทำการทดลองซ้ำๆ และได้รับผลลัพธ์ที่น่าทึ่ง

เห็นได้ชัดว่ามันเป็นข่าวใหญ่

ภายในไม่กี่วันหลังวิทยานิพนธ์ถูกตีพิมพ์ วิทยานิพนธ์ก็กลายเป็นกระแสโลกวิทยาศาสตร์

กระแสนี้คล้ายกับการรีทวิต

ยกตัวอย่าง เมื่อมีคนตีพิมพ์วิทยานิพนธ์ในวารสาร A และมีความก้าวหน้าครั้งใหญ่ วารสาร B ก็จะหาผู้เชี่ยวชาญในสาขาของวิทยานิพนธ์เพื่อสรุปวิทยานิพนธ์และตีพิมพ์ในวารสารตนเอง

เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้ทั่วไปในสาขาชีววิทยาและเคมี มันไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร อย่างไรก็ตามวิทยานิพนธ์ของเนเจอร์กลายเป็นกระแสโลกวิทยาศาสตร์นั้นค่อนข้างหาได้ยาก

โลกวิชาการแทบคลั่ง

ถ้าวิทยานิพนธ์นี้เป็นจริง คนส่วนใหญ่จะไม่ประสบกับการขาดทุน แต่พวกเขาจะได้กำไรด้วยซ้ำ

เหตุผลนั้นเรียบง่ายมาก อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ส่วนใหญ่มุ่งเน้นกับปัญหาลิเธียมเดนไดรต์ ถ้าปัญหาลิเธียมเดนไดรต์ถูกแก้ไข ไม่ต้องสงสัยเลยว่าจะมีเงินทุนวิจัยจำนวนมากไหลเข้ามาในสาขานี้

แม้ว่าจะมีห้องปฏิบัติการบางแห่งที่ทดลองการวิจัยวัสดุอิเล็กโทรดขั้วลบจะตายลง แต่มันจะมีเงินทุนก้อนโตไหลเข้ามา

ดังนั้นภายในสัปดาห์นี้ เกือบแปดสิบเปอร์เซ็นต์ของห้องปฏิบัติการแบตเตอรี่ลิเธียมทำการทดลองวิทยานิพนธ์นี้ซ้ำ

เหตุการณ์ครั้งใหญ่นี้จึงดึงดูดความสนใจของสื่ออย่างรวดเร็ว

นักข่าวจากฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถานีวิทยุโทรทัศน์โคลัมเบียได้สัมภาษณ์ศาสตราจารย์เคอร์จากมหาวิทยาลัยคอร์เนล

โดยบังเอิญ เมื่อนักข่าวสถานีวิทยุโทรทัศน์โคลัมเบียมาถึง ห้องแล็บของศาสตราจารย์เคอร์กำลังทำการทดลองขั้นสุดท้ายพอดี

ศาสตราจารย์เคอร์ตอบคำถามอย่างจริงจัง

“…ทีมวิจัยของเราได้ทำการทดลองซ้ำ ถ้านี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ งั้นเทคโนโลยีนี้จะเปลี่ยนโฉมหน้าของทั้งวงการอย่างไม่ต้องสงสัย…”

“…เนื่องจากทั้งแบตเตอรี่ลิเธียมซัลเฟอร์และแบตเตอรี่ลิเธียมแอร์สามารถแก้ไขปัญหาการเกิดเดนไดรต์ ถ้าปัญหาลิเธียมเดนไดรต์สามารถแก้ไขในวัสดุอิเล็กโทรดขั้วลบ เราก็จะไม่ต้องเปลี่ยนดีไซน์ของแบตเตอรี่มากนัก เราแค่เปลี่ยนวัสดุอิเล็กโทรดขั้วลบก็พอ”

สายตาของนักข่าวเปล่งประกายด้วยความตื่นเต้นเมื่อได้ยินคำตอบของศาสตราจารย์เคอร์

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเขากำลังสัมภาษณ์ข่าวใหญ่

“แต่ศาสตราจารย์เคอร์ ความเห็นที่เราได้รับจากกลุ่มโปรเจกต์แบตเตอรี่ลิเธียม IBM นั้นมองเทคโนโลยีนี้ในแง่ร้าย คุณคิดยังไงกับเรื่องนี้ครับ?”

ศาสตราจารย์เคอร์คิดแล้วกล่าว “มองในแง่ร้ายเป็นเรื่องปกติ เพราะจะมีห้องแล็บอ้างว่าแก้ปัญหาลิเธียมเดนไดรท์ได้เป็นประจำ พวกเขาจึงจำเป็นต้องระมัดระวังไว้ พูดตามตรง ผมก็ยังไม่มั่นใจ เพราะแนวคิดและการแก้ปัญหาที่เสนอโดยผู้เขียนนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่”

นักข่าวถามทันที “ทำไมคุณถึงคิดแบบนั้นครับ?”

ศาสตราจารย์เคอร์ “เพราะแนวทางหลักๆของเราคือการเพิ่มความหนืดของอิเล็กโทรไลต์ หรือแม้แต่การใช้วัสดุของแข็ง เพื่อสร้างวัสดุคาร์บอนในอิเล็กโทรดขั้วลบลิเธียม โลหะลิเธียมจึงต้องจำกัดรูปร่างหลังปลดปล่อยประจุ ดังนั้นเมื่อดูดประจุเข้า มันจึงมั่นใจได้ว่าโครงสร้างอิเล็กโทรดขั้วลบจะไม่ทรุดตัวหลังจากลิเธียมทั้งหมดเข้าสู่อิเล็กโทรดขั้วบวก การออกแบบฟิล์มเคลือบของศาสตราจารย์ลู่บนวัสดุอิเล็กโทรดขั้วลบได้มีการทดลองมาหลายครั้งในห้องแล็บมากมายตลอดยี่สิบปีมานี้ และ…”

นักข่าว “และ?”

ศาสตราจารย์เคอร์ยักไหล่ “และเขาเป็นศาสตราจารย์คณิตศาสตร์ ผมไม่รู้เรื่องสาขาวัสดุศาสตร์เชิงคำนวณแบบใหม่นี้ แต่ผมรู้ว่าการสร้างแบบจำลองนั้นไม่เพียงพอ”

ทันใดนั้นเองก็มีเสียงเฮดังมาจากห้องแล็บ

ศาสตราจารย์เคอร์และนักข่าวต่างก็ตะลึง

นักข่าว “เกิดอะไรขึ้น?”

ศาสตราจารย์เคอร์หันไปมองผู้ช่วยก่อนจะหันกลับมามองนักข่าวด้วยสีหน้าแปลกๆ

“ผมไม่รู้…ผมคิดว่าการทดลองประสบความสำเร็จล่ะมั้ง?”

…………………………

Comments

การแสดงความเห็นถูกปิด