Scholar’s Advanced Technological System 466 การเดินทางสู่ฝรั่งเศส (รีไรท์)
ตอนที่ 466 การเดินทางสู่ฝรั่งเศส (รีไรท์)
โดย
Ink Stone_Fantasy
เมื่อพิธีมอบรางวัลโนเบลจบลง
งานเลี้ยงถึงคราวเลิกรา นักวิชาการที่มารวมตัวกันในสตอกโฮล์มได้ขึ้นเครื่องกลับเพื่อทยอยออกจากเมือง
เหลาลู่ที่กำลังยืนอยู่ ณ ทางเข้าสนามบินกับลู่โจวก็กล่าวถามขึ้น
“ไม่กลับเหรอ?”
“ผมต้องไปฝรั่งเศสก่อนน่ะพ่อ น่าจะสักอาทิตย์หน้าแหละ” ลู่โจวตอบกลับ
“อีกรางวัลเหรอ?”
“ประมาณนั้นครับ”
ท้ายที่สุดแล้ว เขาก็ได้กล่าวคำสัญญาไว้ว่าจะกลับไป
ลู่โจววางแผนที่จะเดินทางไปยังสถาบันฝรั่งเศสก่อนแล้วค่อยกลับบ้าน เขาต้องไปรับรางวัลจากสถาบันเคลย์ก่อน
“แล้วคราวนี้เป็นรางวัลอะไรล่ะ?”
“รางวัลมิลเลนเนียมน่ะครับ”
อันที่จริง เฒ่าลู่ไม่รู้เลยว่ารางวัลมิลเลนเนียมคืออะไร เขาพลันขบฟันอยู่สักพักและเริ่มถามขึ้น
“ได้เท่าไหร่ล่ะ?”
“เกือบหนึ่งล้านครับ” ลู่โจวครุ่นคิดอยู่ครู่หนึ่ง
“ดอลลาร์?”
“ใช่ครับ”
ทั้งคู่เงียบไปสักพัก จากนั้นเฒ่าลู่ก็พูดขึ้น
“ขนาดลูกเองยังสามารถหาเงินได้จากความรู้ทางคณิตศาสตร์ พ่อคิดว่าลูกจะต้องได้รางวัลมากกว่านี้ในอนาคตแน่นอน”
“มันก็… ไม่เสมอไปหรอกครับ” ลู่โจวกระแอม
ในแง่ของการทำเงิน วิทยาศาสตร์แพ้วิศวกรรม ดังนั้น จึงเป็นเรื่องปกติที่จะมีการระดมทุนทางวิทยาศาสตร์มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งนั่นหมายความว่านักวิจัยและนักวิชาการจะมีโอกาสได้รับรางวัลมากขึ้น
ทว่า มีเพียงคนส่วนน้อยในสาขาวิทยาศาสตร์เท่านั้นที่จะได้รับรางวัล
นั่นเป็นเพราะนักวิชาการส่วนใหญ่ที่อยู่ในสาขาทฤษฎีเองก็กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก
…
พิธีมอบรางวัลโนเบลในเดือนธันวาคมนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวงการวิทยาศาสตร์
การถือกำเนิดของรางวัลโนเบล ซึ่งผู้ชนะมีอายุเพียงยี่สิบสี่ปีดูเหมือนจะช่วยกระตุ้นการรับรู้ของผู้คนเกี่ยวข้อง อีกทั้ง ยังช่วยกระตุ้นความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์สำหรับคนจำนวนมากอีกด้วย
สำหรับสมาคมคณิตศาสตร์ เดือนนี้ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
หลังจากสมการนาเวียร์-สโตกส์ได้รับการพิสูจน์ สถาบันเคลย์ก็ได้ทำตามสัญญา นั่นก็คือมอบเงินจำนวนหนึ่งล้านดอลลาร์และจัดพิธีมอบรางวัลอย่างยิ่งใหญ่ที่สถาบันฝรั่งเศส
ณ พิธีมอบรางวัล
แขกที่เข้าร่วมพิธีส่วนใหญ่ต่างก็เป็นนักวิชาการด้านคณิตศาสตร์จากสถาบันและสมาชิกคนสำคัญจากวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศสและสมาชิกคนสำคัญจากสมาคมคณิตศาสตร์แห่งยุโรป
ศาสตราจารย์คาร์ลสันที่กำลังยืนอยู่บนเวทีกำลังกล่าวคำปราศรัยอย่างเคร่งขรึม
“ไม่ว่าจะเป็นเรือที่กระเพื่อมจนก่อให้เกิดคลื่นน้ำ หรือเครื่องบินไอพ่นความเร็วสูง… ทั้งหมดนี้ได้สร้างความประหลาดใจให้กับผู้คนมากมาย แม้ว่าสมการนาเวียร์-สโตกส์จะถูกนำเสนอตั้งแต่ศตวรรษที่สิบเก้า แต่เราแทบจะไม่รู้อะไรเกี่ยวกับมันเลย มันเป็นสิ่งที่ท้าทายและทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกระตุ้นประวัติศาสตร์และค้นพบความลึกลับที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ของสมการนาเวียร์-สโตกส์…”
“และตอนนี้ ทั้งการศึกษาและคำตอบของสมการนาเวียร์-สโตกส์ได้รับการพิสูจน์แล้ว มันสร้างประโยชน์ให้เราอย่างมากมาย!”
หลังจากหยุดคิดไปครู่หนึ่ง ศาสตราจารย์คาร์ลสันก็พูดต่อ
“ประวัติศาสตร์จะจดจำช่วงเวลานี้ และบุคคลที่ทำสิ่งนี้แน่นอน!”
ทันใดนั้นเสียงปรบมือก็ดังก้องไปทั่วหอประชุม
ในระหว่างการปรบมือแสดงความชื่นชม ศาสตราจารย์คาร์ลสันก็ได้มอบเหรียญและประกาศนียบัตรให้แก่ลู่โจว
ในตอนนั้นเองการศึกษาและข้อพิสูจน์ของสมการนาเวียร์-สโตกส์ก็ได้เป็นที่ประจักษ์ในที่สุด
“ยินดีด้วยนะครับ ศาสตราจารย์ลู่โจว” ศาสตราจารย์คาร์ลสันยื่นมือขวาออกมาพร้อมจับมือ เขาเผยยิ้มพร้อมพูดติดตลก “ขอยินดีกับตัวฉันเองด้วยแล้วกัน… ใช่ อย่างน้อยก็เคยหวังเอาไว้”
“หวังเอาไว้?” ลู่โจวถาม
“อ่า… ใช่” ศาสตราจารย์คาร์ลสันกระแอม “เราได้เตรียมรางวัลและทุกอย่างเอาไว้พร้อมแล้ว”
“เดิมที ผมมีแผนที่จะเกษียณอายุอยู่แล้ว แต่ก็คิดเอาไว้ว่าก่อนจะออก ก็ขอมอบรางวัลสักหนึ่งอย่างก่อน ตั้งแต่ได้มาอยู่ในตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบันเคลย์ จนต้องกลับไปทำงานในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของคณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ ความปรารถนานี้ก็ยังไม่เป็นจริงสักที… ผมต้องขอบคุณศาสตราจารย์ลู่มากนะที่ทำให้ความฝันของผมสำเร็จ”
ศาสตราจารย์คาร์ลสันเผยใบหน้าที่ดูเหนื่อยล้าเล็กน้อย
สำหรับโลกคณิตศาสตร์ในอนาคต นั่นก็ทำให้เขาหัวใจสลายเช่นกัน
แต่ทว่าตอนนี้เขาสามารถละทิ้งความรับผิดชอบและใช้ชีวิตในช่วงวัยชราแบบคนปกติได้แล้ว…
หลังจากได้รับรางวัลหนึ่งล้านดอลลาร์ เวลาผ่านไปไม่นานนักลู่โจวก็ขึ้นเครื่องกลับบ้าน
เดิมทีลู่โจววางแผนที่จะลงจอดที่สนามบินนานาชาติจินหลิง แต่เนื่องจากได้รับคำเชิญจากเอกอัครราชทูตจาง เขาจึงเปลี่ยนเที่ยวบินกลับไปยังเซี่ยงไฮ้
หลังจากเครื่องบินลงจอด เช่นเดียวกับครั้งที่แล้ว เขาได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นที่สนามบิน
ลู่โจวมอบกระเป๋าเดินทางให้กับคนขับรถและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหวังเผิง จากนั้น เขาก็นั่งในรถสีดำที่มีธงสีแดงและไปยังสถานที่ปลายทาง…
…
ลู่โจวเดินตามผู้คุมระหว่างที่กำลังผ่านด่านรักษาความปลอดภัย
เมื่อลู่โจวนั่งอยู่ในสถานที่ราชการเก่าแก่ ลู่โจวก็ได้พบกับประธานาธิบดีคนหนึ่งที่เคยมอบรางวัลให้กับเขา
นอกจากนี้ คนที่นั่งข้างชายชราก็เป็นนักวิชาการผมขาว
ลู่โจวรู้ว่าเขาเป็นใครก็เพราะการประชุมแบตเตอรี่ลิเธียม นักวิชาการอู๋ยังเคยเข้าร่วมในโครงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญอย่างเช่น โครงการแปดหกสามอีกด้วย นั่นทำให้ลู่โจวจำเขาได้
เหตุผลที่นักวิชาการอู๋นั่งอยู่ที่นี่อาจจะเป็นเพราะเขากำลังทำหน้าที่เป็น “ล่าม” อยู่ก็ได้ หน้าที่ของเขาก็คือการแปลเนื้อหาจากรายงานของลู่โจวให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย แม้แต่คนที่ไม่มีพื้นฐานความรู้ที่เกี่ยวข้องเลยก็สามารถเข้าใจได้
ชายแก่ที่มองไปยังลู่โจวที่กำลังเดินเข้ามาเผยยิ้มและพยักหน้าเล็กน้อย
“เจอกันอีกแล้วนะ”
จากนั้น เขาก็ยื่นมือขวาออกมา “นั่งลงก่อนสิ”
ลู่โจวนั่งลงตรงข้ามกับชายชรา ไม่นานเขาก็ได้แนะนำให้ลู่โจวรู้จักกับนักวิชาการที่นั่งอยู่ข้างกาย
“นี่คือนักวิชาการอู๋”
“สวัสดีครับ ศาสตราจารย์ลู่” นักวิชาการอู๋เผยยิ้มพร้อมยื่นมือขวาออกไป
“สวัสดีครับ!”
ระหว่างที่ทั้งคู่จับมือกัน พวกเขาได้พูดคุยในท่าทีผ่อนคลาย แต่ถึงกระนั้นก็ไม่อาจพูดคุยกันได้นานนัก
ทั้งคู่นั่งลง พวกเขาอยู่ในสาขาที่แตกต่างกัน
เพื่อที่จะเร่งการสร้างเครื่องปฏิกรณ์เชิง “DEMO” จากเคลียร์ฟิวชันแบบควบคุมให้เสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2025 ลู่โจวนั้นไม่สามารถพึ่งพาแค่ความสามารถและพลังกำลังของตนเองได้ เขาต้องการการสนับสนุนระดับชาติ
โชคดีที่การได้รับรางวัลโนเบลนั้นทำให้เขามีโอกาสนั้น
แม้ว่าสาขาการวิจัยหลักของเขาจะเป็นคณิตศาสตร์ แต่ก็ไม่มีใครสงสัยเขาในเรื่องพลังงานเลย
นอกจากนี้ หลายประเทศเองก็ได้รับประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีแบตเตอรี่ลิเธียมซัลเฟอร์ และยังมีคำพูดอีกมากที่น่าเชื่อถือกว่าข้อมูลที่มีให้เห็นอีกด้วย
“ทั้งพลังงาน วัสดุและเทคโนโลยีสารสนเทศต่างก็เป็นเสาหลักสามประการของการพัฒนาสังคมสมัยใหม่ พลังงานถือเป็นรากฐานของอำนาจและเส้นเลือดใหญ่ของอุตสาหกรรม เมื่อพิจารณาถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมทั้งสามครั้งที่ผ่านมาแล้ว พลังงานและการผลิตพลังงานเป็นสิ่งที่แยกออกจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไม่ได้เลย” ลู่โจวกล่าว
นักวิชาการอู๋มองไปที่หลูโจวด้วยสีหน้าจริงจัง “แล้วคุณคิดว่าโครงการไหนล่ะที่จะเหมาะกับเรา?”
ลู่โจวพูดเพียงเจ็ดคำเท่านั้น
“นิวเคลียร์ฟิวชันแบบควบคุม!”
……………………………………………
Comments